วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา


ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษา

     ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่   เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

      การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

ประวัติความเป็นมาของละครใน

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติละครใน



ประวัติความเป็นมาของละครใน

ประวัติความเป็นมาของ “ละครใน” พบครั้งแรกในหนังสือบุณโณวาทคำฉันท์ ซึ่งพรรณนาว่าแสดงเรื่องอิเหนา ตอนลักบุษบาหนีเข้าถ้ำ แสดงว่าละครในแสดงแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีแสดงในงานสมโภชพระพุทธบาท ดังคำประพันธ์ว่า
ฝ่ายฟ้อนละครใน บริรักษ์จักรี
โรงรินคิรีมี กลลับบ่แลชาย
ล้วนสรรพฉกรรจ์นาง อรอ่อนละอาย
ใครยลบ่อยากวาย จิตคงมะเมอฝัน
ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรร- พตร่วมฤดีโลม
จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงว่า ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการแสดงละครผู้หญิงแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ละครใน” ละครผู้หญิงอาจเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่คงจะไม่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะถ้ามีละครผู้หญิง ลาลูแบร์ก็น่าจะได้เคยดูและคงจะได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ภายหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อาจมีตอนใดตอนหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดทอดพระเนตรละคร จึงทรงพระราชดำริให้ผู้หญิงในวังแสดงละครถวาย และอาจเป็นได้ว่าละครผู้หญิงเกิดขึ้นในสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั่นเอง เพราะมีช่วงเวลายาวกว่า 3 รัชกาลก่อน ทั้งยังเป็นสมัยที่บ้านเมืองสงบ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็โปรดการเล่นละครอยู่ด้วย
ละครในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะรุ่งเรืองเพียงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพียงรัชกาลเดียว เพราะปรากฏว่าสมัยต่อมา เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรละคร ต้องหาละครผู้ชายเข้าไปเล่นถวาย แสดงว่าละครในประจำราชสำนักเล่นถวายไม่ได้ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ประจวบกับการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ละครในก็กระจัดกระจายไปบ้าง ถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

รำแม่บทใหญ่

รำแม่บทใหญ่” เป็นการรำมาตรฐาน ผู้แสดงจะรำตามบทขับร้องอีกทั้งต้องใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับท่วงทำนอง จังหวะของเพลงใช้เป็นการปฏิบัติฝึกหัดเบื้องต้นการเรียนวิชานาฏศิลป์ละคร ที่บรมครูในสมัยโบราณด้านนาฏศิลป์ไทยได้ประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับบทร้องที่กำหนดการเรียกชื่อท่ารำต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน ท่าส่วนใหญ่จะเลียนแบบท่าธรรมชาติของมนุษย์ 

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เบื้องต้น

คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง