ประวัติความเป็นมาของละครใน
ประวัติความเป็นมาของ “ละครใน” พบครั้งแรกในหนังสือบุณโณวาทคำฉันท์ ซึ่งพรรณนาว่าแสดงเรื่องอิเหนา ตอนลักบุษบาหนีเข้าถ้ำ แสดงว่าละครในแสดงแพร่หลายในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีแสดงในงานสมโภชพระพุทธบาท ดังคำประพันธ์ว่า
ฝ่ายฟ้อนละครใน บริรักษ์จักรี
โรงรินคิรีมี กลลับบ่แลชาย
ล้วนสรรพฉกรรจ์นาง อรอ่อนละอาย
ใครยลบ่อยากวาย จิตคงมะเมอฝัน
ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรร- พตร่วมฤดีโลม
จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงว่า ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการแสดงละครผู้หญิงแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ละครใน” ละครผู้หญิงอาจเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่คงจะไม่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะถ้ามีละครผู้หญิง ลาลูแบร์ก็น่าจะได้เคยดูและคงจะได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ภายหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อาจมีตอนใดตอนหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดทอดพระเนตรละคร จึงทรงพระราชดำริให้ผู้หญิงในวังแสดงละครถวาย และอาจเป็นได้ว่าละครผู้หญิงเกิดขึ้นในสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั่นเอง เพราะมีช่วงเวลายาวกว่า 3 รัชกาลก่อน ทั้งยังเป็นสมัยที่บ้านเมืองสงบ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็โปรดการเล่นละครอยู่ด้วย
ละครในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะรุ่งเรืองเพียงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพียงรัชกาลเดียว เพราะปรากฏว่าสมัยต่อมา เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรละคร ต้องหาละครผู้ชายเข้าไปเล่นถวาย แสดงว่าละครในประจำราชสำนักเล่นถวายไม่ได้ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ประจวบกับการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ละครในก็กระจัดกระจายไปบ้าง ถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง
สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรวบรวมตัวละครที่กระจัดกระจายหนีภัยสงครามบ้างและตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช เข้ามาเป็นครูหัดละครผู้หญิงของหลวงขึ้นใหม่ จึงได้มีละคร ผู้หญิงแต่ของหลวงเพียงโรงเดียวตามแบบเดิม บทละครก็ใช้ของเดิมซึ่งไม่ค่อยจะสมบูรณ์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูการละครครั้งใหญ่ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเพื่อเป็นต้นฉบับสำหรับพระนครขึ้นทั้ง 3 เรื่องอย่างสมบูรณ์ แต่แบบฉบับการฟ้อนรำไม่ได้เคร่งครัด พึ่งจะมาพิถีพิถันในเรื่องท่ารำและแบบแผนในสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนเรียกว่าเป็นยุคทองของละครใน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีละครแบบใหม่เกิดขึ้น คือละครดึกดำบรรพ์ นับแต่นั้นมาคนก็หันไปสนใจกับละครแบบใหม่มากกว่าละครใน เพราะดำเนินเรื่องรวดเร็วทันใจ ทั้งยังเป็นของแปลกใหม่ไม่เคยดูมาก่อน ในสมัยต่อมาก็เกิดการละครประเภทอื่นๆ อีก เช่น ละครร้อง ละครพันทาง และละครพูด ในระยะหลังนี้ละครในเสื่อมความนิยมลงมาก หลังสมัยรัชกาลที่ 6 แล้ว มิได้มีละครในของหลวงอีก และแม้ในปัจจุบันนี้จะมีละครในเล่นกัน แต่แบบและลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก
ฝ่ายฟ้อนละครใน บริรักษ์จักรี
โรงรินคิรีมี กลลับบ่แลชาย
ล้วนสรรพฉกรรจ์นาง อรอ่อนละอาย
ใครยลบ่อยากวาย จิตคงมะเมอฝัน
ร้องเรื่องระเด่นโดย บุษบาตุนาหงัน
พักพาคูหาบรร- พตร่วมฤดีโลม
จากคำประพันธ์ข้างต้นแสดงว่า ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีการแสดงละครผู้หญิงแล้ว ซึ่งเรียกว่า “ละครใน” ละครผู้หญิงอาจเกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่คงจะไม่ก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะถ้ามีละครผู้หญิง ลาลูแบร์ก็น่าจะได้เคยดูและคงจะได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุ ภายหลังรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชถึงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อาจมีตอนใดตอนหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดทอดพระเนตรละคร จึงทรงพระราชดำริให้ผู้หญิงในวังแสดงละครถวาย และอาจเป็นได้ว่าละครผู้หญิงเกิดขึ้นในสมัย พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศนั่นเอง เพราะมีช่วงเวลายาวกว่า 3 รัชกาลก่อน ทั้งยังเป็นสมัยที่บ้านเมืองสงบ และพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็โปรดการเล่นละครอยู่ด้วย
ละครในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะรุ่งเรืองเพียงสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเพียงรัชกาลเดียว เพราะปรากฏว่าสมัยต่อมา เมื่อพระเจ้าเอกทัศน์มีพระราชประสงค์จะทอดพระเนตรละคร ต้องหาละครผู้ชายเข้าไปเล่นถวาย แสดงว่าละครในประจำราชสำนักเล่นถวายไม่ได้ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ประจวบกับการเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าเมื่อ พ.ศ. 2310 ละครในก็กระจัดกระจายไปบ้าง ถูกพม่ากวาดต้อนไปบ้าง
สมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงรวบรวมตัวละครที่กระจัดกระจายหนีภัยสงครามบ้างและตัวละครผู้หญิงของเจ้านครศรีธรรมราช เข้ามาเป็นครูหัดละครผู้หญิงของหลวงขึ้นใหม่ จึงได้มีละคร ผู้หญิงแต่ของหลวงเพียงโรงเดียวตามแบบเดิม บทละครก็ใช้ของเดิมซึ่งไม่ค่อยจะสมบูรณ์
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงฟื้นฟูการละครครั้งใหญ่ ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเพื่อเป็นต้นฉบับสำหรับพระนครขึ้นทั้ง 3 เรื่องอย่างสมบูรณ์ แต่แบบฉบับการฟ้อนรำไม่ได้เคร่งครัด พึ่งจะมาพิถีพิถันในเรื่องท่ารำและแบบแผนในสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนเรียกว่าเป็นยุคทองของละครใน
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีละครแบบใหม่เกิดขึ้น คือละครดึกดำบรรพ์ นับแต่นั้นมาคนก็หันไปสนใจกับละครแบบใหม่มากกว่าละครใน เพราะดำเนินเรื่องรวดเร็วทันใจ ทั้งยังเป็นของแปลกใหม่ไม่เคยดูมาก่อน ในสมัยต่อมาก็เกิดการละครประเภทอื่นๆ อีก เช่น ละครร้อง ละครพันทาง และละครพูด ในระยะหลังนี้ละครในเสื่อมความนิยมลงมาก หลังสมัยรัชกาลที่ 6 แล้ว มิได้มีละครในของหลวงอีก และแม้ในปัจจุบันนี้จะมีละครในเล่นกัน แต่แบบและลักษณะการแสดงเปลี่ยนไปมาก
อ้างอิง
https://www.baanjomyut.com/library_2/inside_the_theater/01.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น